วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550

Pierre Simon Fournier le Juene

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม
นายอนุชิต บุญแท่น รหัส 1490800362
นายณพนรรจ์ เสเกกุล รหัส 1490801121
นายณัชพล ลาภกิตติชัย รหัส 1490801147
นายสุจจชัย โอชพันชัย รหัส 1490800297


ปีแอร์ ซิมอง ฟูเนียร์ เลอ ฌอง
(Pierre Simon Fournier le Juene)



ปีแอร์ ซิมอง ฟูเนียร์ เลอ ฌอง (Pierre Simon Fournier le Juene) เป็นลูกชายคนเล็กของครอบครัว ช่างพิมพ์ และช่างหล่อตัวพิมพ์ชาวฝรั่งเศส ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 (1712-1768) ที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับตัวอักษรมาหลายชั่วรุ่น เขาเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้สีน้ำกับ J.B.G. Colson มาก่อนที่จะเริ่มสนใจในเรื่องการออกแบบตัวอักษร เมื่ออายุได้ 24 ปี ฟูเนียร์ได้แยกมารับงานออกแบบตัวพิมพ์และทำโรงหล่อของตัวเองเป็นเอกเทศ หลังจากที่ได้เรียนศิลปะและฝึกงานที่โรงหล่อเล-เบ (Le be) ของพี่ชายคนโต ซึ่งเขาได้แกะพิมพ์ไม้ทำลายประดับ และเรียนรู้การทำตัวตอก

ฟูเนียร์ได้เป็นผู้นำในการวางมาตรฐานวิธีการวัด เมื่อเขาตีพิมพ์ตารางสัดส่วน (Table of Proportions) ขึ้นเป็นครั้งแรก เขาได้ตีพิมพ์หนังสือต้นแบบตัวอักษรในการพิมพ์ โมเดล เดส์ คาแรคเทียร์ เดส์ อิมพริเมอรี (Modeles des caracteres des Imprimerie) ก่อนวันเกิดครบรอบสามสิบปี เมื่อปี 1772 หนังสือเล่มนี้มีตัวอักษร 4,600 ตัว เขาใช้เวลาเกือบหกปีออกแบบและทำตัวตอกตัวพิมพ์เหล่านี้เอง สไตล์ตัวอักษรของเขาเป็นรูปทรงโรมันแปรง ที่ได้รับอิทธิพลจากโรมาง-ดู-รัว (ตัวอักษรที่ออกแบบตามหลักวิทยาศาสตร์โดยใช้ตารางจัตุรัส) เมื่อปี 1702 อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำหนักและความกว้างแตกต่างกันออกไป นับเป็นการคิดค้น ชุดตัวพิมพ์ (Type family) ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน และสามารถใช้ร่วมกันได้ เขาได้ลงมือออกแบบและจัดรูปหน้าได้อย่างสลับซับซ้อน สามารถนำตัวพิมพ์ลายดอกไม้ที่หรูหรามาคล้องกันเป็นพวงมาลัย นับเป็นการประดับตกแต่งอีกวิธีหนึ่ง

ฟูเนียร์ได้ออกแบบทั้ง อักษรโรมัน ตัวเอน ตัวเขียนลายมือ และสไตล์ตัวพิมพ์ลายประดับ บรรทัด และลายประดับ มีมาตราวัดแบบมาตรฐานที่สามารถทำให้ส่วนต่างๆสามารถนำมาประกอบเข้าด้วยกันได้ สวยงามและเหมาะสม

ฟูเนียร์ตั้งใจจะพิมพ์หนังสือคู่มือการพิมพ์ (Manuel Typographigue) ถึงสี่เล่ม อยู่เป็นเวลาหลายปี แต่ผลิตได้เพียงสองเล่ม เล่มแรกเมื่อปี 1764 ชื่อว่า ตัวพิมพ์ (Type) มีเนื้อหาเกี่ยวกับการตัดตัวตอกและตัวพิมพ์อักษรที่เขาเป็นผู้ออกแบบ และหนังสือตัวอย่างพิมพ์ (Type Specimens) มีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวอย่างของตัวพิมพ์อักษรและการประดับตกแต่งอักษร ซึ่งเดิมตั้งใจจะให้เป็นเล่มที่สี่ เมื่อปี 1768 มีการพัฒนาระบบการวัด โดยใช้จุด (Point) แทนที่จะใช้เส้นกับจุด (Line and Point) เขามีอายุไม่ทันที่จะทำอีกสองเล่มได้สมบูรณ์ ถึงแม้หนังสือคู่มือการพิมพ์ จะเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ หนังสือเล่มนี้ก็ทำสำเร็จไปได้เพียงครึ่งเดียว ก็นับว่าฟูเนียร์ ได้คิดค้นสิ่งใหม่ๆทางด้านการพิมพ์


เกร็ดความรู้เกี่ยวกับฟูเนียร์
-เขาถูกเรียกว่าปรมาจารย์ในการประดับตกแต่งตัวอักษร
-ตัวอักษรแบบแรกที่เขาออกแบบมีชื่อว่า Gros-canon ถูกออกแบบในปี 1736
-ตัวอักษร Fournier แบบเอียง มีความสวยงามมากกว่าตัวอักษรแบบโรมันที่เขาออกแบบ


ตัวอย่างผลงานของฟูเนียร์







แหล่งที่มา
หนังสือประวัติศาสตร์เรขศิลป์: ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
http://en.wikipedia.org/wiki/Pierre_Simon_Fournierhttp
http://www.britannica.com/eb/article-9035048/Pierre-Simon-Fournier

ไม่มีความคิดเห็น: