ธีรภัทร์ ล้อสุวรรณวงค์ ID : 1490800966
Helvetica
เฮลเวตติกามีอายุครบรอบ 50 ปีเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ที่ผ่านมา แม้หลายคนอาจไม่เคยได้ยินชื่อฟอนต์นี้มาก่อน แต่รับประกันได้เลยว่าทุกคนต้องคุ้นหน้าคุ้นตากับรูปแบบตัวอักษรนี้แน่นอน เพราะเราพบเห็นอยู่บ่อยๆ โดยไม่รู้ตัว เพราะแต่ละบริษัทพิมพ์ข้อความกว่า 3,000 ชิ้นในแต่ละวันด้วยเฮลเวตติกา แม้แต่ในคอมพิวเตอร์ของเราก็มีฟอนต์นี้ด้วย
เฮลเวตติกามีความสำคัญต่อชีวิตคนเรามาก จนพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ในนครนิวยอร์กต้องจัดงานฉลองครบรอบ 50 ปีให้ฟอนต์นี้ ด้วยการจัดแสดงผลงานที่พิมพ์ด้วยอักษรเฮลเวตติกา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่แบบตัวอักษรได้เป็นส่วนหนึ่งในคอลเลคชั่นของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ แถมยังมีการจัดนิทรรศการครบรอบ 50 ปีไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากนี้ เฮลเวตติกายังกลายเป็นหัวข้อหลักของหนังสารคดีที่เปิดตัวในเทศกาลหนังรัฐเท็กซัส เมื่อเดือนมีนาคมอีกด้วย
ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับฟอนต์รูปแบบหนึ่งขนาดนี้ ตอบได้สั้นๆ ก็คือ เพราะเฮลเวตติกาทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างเพียบพร้อม
"เฮลเวตติกาสามารถส่งสารได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพโดยไม่ยัดเยียดตัวเอง เมื่อใครอ่านตัวอักษรนี้ก็ยากที่จะจดจำรูปแบบได้ จำได้แต่เพียงความหมาย เพราะเป็นอักษรที่สบายตา สะอาด และอ่านง่าย ด้วยการลากเส้นแบบกลมมนและนุ่มนวล จนบรรดานักออกแบบอักษรเคยพูดว่าไม่สามารถสร้างฟอนต์ที่ดีกว่านี้ได้อีกแล้ว" คำบอกเล่าจาก คริสเตียน ลาร์เซน ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่แห่งนิวยอร์ก
แม้เฮลเวตติกาจะได้รับความนิยมถล่มทลายในปัจจุบัน แต่ฟอนต์นี้กลับไม่ประสบความสำเร็จมากนักเมื่อครั้งเอดัวร์ด ฮอฟฟ์มานน์ ผู้อำนวยการโรงหล่อโลหะ ฮาส ไทป์ ในสวิตเซอร์แลนด์ ประดิษฐ์ฟอนต์นี้เป็นครั้งแรกในปี 2500 โดยมีชื่อเดิมเป็นภาษาเยอรมันว่า Neue Haas Grotesk ช่วงนั้นมีฟอนต์ที่ได้รับความนิยมอยู่แล้วในหมู่กราฟฟิกดีไซเนอร์ชาวสวิส คือ ซานส์ เซริฟ (Sans Serif) ซึ่งเป็นอักษรเวอร์ชั่นร่วมสมัยของฟอนต์ชื่อ Akzidenz Grotesk
ฮอฟฟ์มานน์ได้มอบหมายให้ แมกซ์ มีดิงเกอร์ นักออกแบบตัวอักษรที่ไม่ค่อยโด่งดัง ประดิษฐ์ฟอนต์ใหม่ชื่อ Neue Haas Grotesk แต่ผ่านไปหลายปีก็ยังมีคนรู้จักฟอนต์ชนิดนี้น้อยมาก
สมัยก่อน การประดิษฐ์แบบอักษรจะทำโดยการสลักรูปร่างจากโลหะ ใครต้องการใช้ฟอนต์ชนิดไหนก็ต้องซื้ออักษรครบชุด การพัฒนาหรือใช้ฟอนต์ใหม่ๆ จึงต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง และการออกแบบอักษรใหม่ก็น้อยลงตามไปด้วย ฟอนต์ที่ได้รับความนิยมสมัยก่อนจึงครองตำนานอยู่หลายทศวรรษ เช่น บาสเกอร์วิลล์ และโบโดนี
ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ช่วยให้เราออกแบบและแจกจ่ายฟอนต์หลายพันแบบได้อย่างรวดเร็ว และมีการออกแบบฟอนต์ใหม่ๆ ทุกปี แถมยังสามารถวิพากษ์วิจารณ์ข้อดีข้อเสียของแต่ละฟอนต์ได้อย่างถึงพริกถึงขิงผ่านบล็อกและเวบไซต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกราฟฟิกดีไซน์มองว่า คนธรรมดาก็สามารถเป็นนักเล่นฟอนต์มือสมัครเล่นได้ ด้วยการเลือกรูปแบบที่ตัวเองชื่นชอบจากคอมพิวเตอร์
แต่สถานการณ์ในปี 2504 กลับไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อแมทธิว คาร์เตอร์ นักออกแบบตัวอักษรชาวอังกฤษได้รับมอบหมายให้ออกแบบฟอนต์ Akzidenz Grotesk ในเวอร์ชั่นทันสมัย เพื่อใช้เขียนป้ายของอาคารผู้โดยสารใหม่ในสนามบิวฮีทโธรว์ ช่วงนั้นฟอนต์ Neue Haas Grotesk ถือกำเนิดมาได้ 4 ปีแล้ว แต่เขากลับไม่เคยได้ยินชื่อนี้เลย เขาจึงลงเอยด้วยการคิดค้นฟอนต์เวอร์ดานาและจอร์เจียออกมา
"ถ้าเรารู้จักฟอนต์นี้ตั้งแต่แรก ผมมั่นใจว่าเราต้องใช้อักษรนี้แน่ เพราะดีกว่าฟอนต์ที่ผมประดิษฐ์มากมาย แต่การค้าแบบอักษรสมัยนั้นล้าหลังมาก และการออกแบบฟอนต์ใหม่เป็นไปอย่างเชื่องช้า" คาร์เตอร์ชี้แจง
เริ่มบุกตลาดตัวอักษร
ปีเดียวกันนั้นเอง เมอร์เจนธาเลอร์ ลิโนไทป์ บริษัทแม่ของฮาส ได้ตัดสินใจทำการตลาดฟอนต์ Neue Haas Grotesk ไปทั่วโลก และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้จดจำได้ง่าย เนื่องจากกราฟฟิกดีไซน์สมัยใหม่ของสวิตเซอร์แลนด์ได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยนั้น พวกเขาจึงเลือกชื่อ 'เฮลเวตติกา' ซึ่งออกเสียงได้ง่ายกว่าคำว่า 'เฮลเวตเทีย (Helvetia)' ภาษาละตินของ 'สวิตเซอร์แลนด์'
ปรากฏว่าแผนรีแบรนดิ้งครั้งนี้ได้ผล เฮลเวตติกาได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในหมู่เอเยนซีโฆษณาของสหรัฐ จนกลายเป็นฟอนต์ทางเลือกอันดับแรกสำหรับทุกบริษัทที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ทันสมัยในช่วงทศวรรษ 1960 ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็นตัวอักษรในป้ายใหม่ของรถไฟใต้ดินนิวยอร์ก
อย่างไรก็ดี เมื่อกรมการขนส่งมวลชนสหรัฐพบว่าฟอนต์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอย่าง 'สแตนดาร์ด มีเดียม (Standard Medium)' มีราคาถูกกว่า ป้ายรถไฟใต้ดินก่อนหน้านั้นจึงพิมพ์ด้วยฟอนต์นี้ไม่ใช่เฮลเวตติกา
อักษรเฮลเวตติกาปรากฏอยู่แทบทุกหนทุกแห่งภายในทศวรรษ 1980 ต่อมาได้มีการออกแบบฟอนต์ 'แอเรียล (Arial)' ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นดิจิทัลของเฮลเวตติกาในปี 2533 ซึ่งก็ได้รับความนิยมพอสมควร แต่นักออกแบบมองว่าแอเรียลเป็นผลงานเลียนแบบราคาถูก ส่งผลให้เฮลเวตติกายังยืนหยัดเป็นฟอนต์ยอดนิยมมาถึงครึ่งศตวรรษ
"เฮลเวตติกาสามารถส่งสารได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพโดยไม่ยัดเยียดตัวเอง เมื่อใครอ่านตัวอักษรนี้ก็ยากที่จะจดจำรูปแบบได้ จำได้แต่เพียงความหมาย เพราะเป็นอักษรที่สบายตา สะอาด และอ่านง่าย ด้วยการลากเส้นแบบกลมมนและนุ่มนวล จนบรรดานักออกแบบอักษรเคยพูดว่าไม่สามารถสร้างฟอนต์ที่ดีกว่านี้ได้อีกแล้ว" คำบอกเล่าจาก คริสเตียน ลาร์เซน ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่แห่งนิวยอร์ก
แม้เฮลเวตติกาจะได้รับความนิยมถล่มทลายในปัจจุบัน แต่ฟอนต์นี้กลับไม่ประสบความสำเร็จมากนักเมื่อครั้งเอดัวร์ด ฮอฟฟ์มานน์ ผู้อำนวยการโรงหล่อโลหะ ฮาส ไทป์ ในสวิตเซอร์แลนด์ ประดิษฐ์ฟอนต์นี้เป็นครั้งแรกในปี 2500 โดยมีชื่อเดิมเป็นภาษาเยอรมันว่า Neue Haas Grotesk ช่วงนั้นมีฟอนต์ที่ได้รับความนิยมอยู่แล้วในหมู่กราฟฟิกดีไซเนอร์ชาวสวิส คือ ซานส์ เซริฟ (Sans Serif) ซึ่งเป็นอักษรเวอร์ชั่นร่วมสมัยของฟอนต์ชื่อ Akzidenz Grotesk
ฮอฟฟ์มานน์ได้มอบหมายให้ แมกซ์ มีดิงเกอร์ นักออกแบบตัวอักษรที่ไม่ค่อยโด่งดัง ประดิษฐ์ฟอนต์ใหม่ชื่อ Neue Haas Grotesk แต่ผ่านไปหลายปีก็ยังมีคนรู้จักฟอนต์ชนิดนี้น้อยมาก
สมัยก่อน การประดิษฐ์แบบอักษรจะทำโดยการสลักรูปร่างจากโลหะ ใครต้องการใช้ฟอนต์ชนิดไหนก็ต้องซื้ออักษรครบชุด การพัฒนาหรือใช้ฟอนต์ใหม่ๆ จึงต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง และการออกแบบอักษรใหม่ก็น้อยลงตามไปด้วย ฟอนต์ที่ได้รับความนิยมสมัยก่อนจึงครองตำนานอยู่หลายทศวรรษ เช่น บาสเกอร์วิลล์ และโบโดนี
ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ช่วยให้เราออกแบบและแจกจ่ายฟอนต์หลายพันแบบได้อย่างรวดเร็ว และมีการออกแบบฟอนต์ใหม่ๆ ทุกปี แถมยังสามารถวิพากษ์วิจารณ์ข้อดีข้อเสียของแต่ละฟอนต์ได้อย่างถึงพริกถึงขิงผ่านบล็อกและเวบไซต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกราฟฟิกดีไซน์มองว่า คนธรรมดาก็สามารถเป็นนักเล่นฟอนต์มือสมัครเล่นได้ ด้วยการเลือกรูปแบบที่ตัวเองชื่นชอบจากคอมพิวเตอร์
แต่สถานการณ์ในปี 2504 กลับไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อแมทธิว คาร์เตอร์ นักออกแบบตัวอักษรชาวอังกฤษได้รับมอบหมายให้ออกแบบฟอนต์ Akzidenz Grotesk ในเวอร์ชั่นทันสมัย เพื่อใช้เขียนป้ายของอาคารผู้โดยสารใหม่ในสนามบิวฮีทโธรว์ ช่วงนั้นฟอนต์ Neue Haas Grotesk ถือกำเนิดมาได้ 4 ปีแล้ว แต่เขากลับไม่เคยได้ยินชื่อนี้เลย เขาจึงลงเอยด้วยการคิดค้นฟอนต์เวอร์ดานาและจอร์เจียออกมา
"ถ้าเรารู้จักฟอนต์นี้ตั้งแต่แรก ผมมั่นใจว่าเราต้องใช้อักษรนี้แน่ เพราะดีกว่าฟอนต์ที่ผมประดิษฐ์มากมาย แต่การค้าแบบอักษรสมัยนั้นล้าหลังมาก และการออกแบบฟอนต์ใหม่เป็นไปอย่างเชื่องช้า" คาร์เตอร์ชี้แจง
เริ่มบุกตลาดตัวอักษร
ปีเดียวกันนั้นเอง เมอร์เจนธาเลอร์ ลิโนไทป์ บริษัทแม่ของฮาส ได้ตัดสินใจทำการตลาดฟอนต์ Neue Haas Grotesk ไปทั่วโลก และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้จดจำได้ง่าย เนื่องจากกราฟฟิกดีไซน์สมัยใหม่ของสวิตเซอร์แลนด์ได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยนั้น พวกเขาจึงเลือกชื่อ 'เฮลเวตติกา' ซึ่งออกเสียงได้ง่ายกว่าคำว่า 'เฮลเวตเทีย (Helvetia)' ภาษาละตินของ 'สวิตเซอร์แลนด์'
ปรากฏว่าแผนรีแบรนดิ้งครั้งนี้ได้ผล เฮลเวตติกาได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในหมู่เอเยนซีโฆษณาของสหรัฐ จนกลายเป็นฟอนต์ทางเลือกอันดับแรกสำหรับทุกบริษัทที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ทันสมัยในช่วงทศวรรษ 1960 ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็นตัวอักษรในป้ายใหม่ของรถไฟใต้ดินนิวยอร์ก
อย่างไรก็ดี เมื่อกรมการขนส่งมวลชนสหรัฐพบว่าฟอนต์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอย่าง 'สแตนดาร์ด มีเดียม (Standard Medium)' มีราคาถูกกว่า ป้ายรถไฟใต้ดินก่อนหน้านั้นจึงพิมพ์ด้วยฟอนต์นี้ไม่ใช่เฮลเวตติกา
อักษรเฮลเวตติกาปรากฏอยู่แทบทุกหนทุกแห่งภายในทศวรรษ 1980 ต่อมาได้มีการออกแบบฟอนต์ 'แอเรียล (Arial)' ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นดิจิทัลของเฮลเวตติกาในปี 2533 ซึ่งก็ได้รับความนิยมพอสมควร แต่นักออกแบบมองว่าแอเรียลเป็นผลงานเลียนแบบราคาถูก ส่งผลให้เฮลเวตติกายังยืนหยัดเป็นฟอนต์ยอดนิยมมาถึงครึ่งศตวรรษ
"ทำไมบางคนถึงมองว่าการที่ฟอนต์หนึ่งยืนหยัดได้ 50 ปีเป็นเรื่องแปลก เวลามีการประดิษฐ์สิ่งที่ยอดเยี่ยมอย่างเฮลเวตติกา ก็ควรจะดำรงอยู่ต่อเนื่องเป็น 200 ปีอยู่แล้ว ไม่ต่างอะไรกับสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่" แดนนี แวน เดน ดันเกน แห่งทีมกราฟฟิกดีไซน์ เอกซ์เปอริเมนทัล เจ็ทเซ็ท ในเนเธอร์แลนด์ ฟันธงอย่างมั่นใจ
http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?t=1951
http://www.isriya.com/node/576
http://en.wikipedia.org/wiki/Helvetica
http://www.deviantart.com/
http://www.bnind.com/default.asp
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น