วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550

ประวัติของ ตัวพิมพ์ไทย

๑๐ ตัวพิมพ์ กับ ๑๐ ยุคสังคมไทย
เรียบเรียงโดย ประชา สุวีรานนท์

จากนิตยสาร สารคดี
ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๑๑ เดือน กันยายน ๒๕๔๕

ตัวพิมพ์ (font) มิได้ทำหน้าที่เพียง "ส่งผ่าน" ข้อมูลข่าวสาร
หรือเป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนเสียงเท่านั้น รูปร่างหน้าตาของตัวพิมพ์ยังช่วยกำหนด
"สำเนียง" ที่สร้างความหมาย และบุคลิกที่ต่างกันไปสำหรับเนื้อหาที่จะสื่อ

ตัวพิมพ์ ๑๐ ตัวพิมพ์ที่เลือกสรรมาเป็นตัวแทนของ ๑๐ ยุคสังคมไทยนี้
เพื่อแสดงให้เห็นว่า ตัวพิมพ์มีพัฒนาการ ที่แนบแน่นไปพร้อมกับความก้าวหน้า
และถดถอยของสังคมไทย ตลอดระยะเวลา ๑๖๐ ปีนับจากตัวพิมพ์ไทยถือกำเนิดขึ้น

ครั้งหนึ่งตัวพิมพ์อาจเคยถูกมองว่ามีหน้าที่เพียง "ส่งผ่าน" ข้อมูลข่าวสาร
เป็นสิ่งที่ทุกคน "อ่าน" หากกลับไม่มีใครมองเห็น แต่มาในยุคที่สื่อสารมวลชนเติบโต
และทรงอิทธิพลต่อสังคม คงไม่มีใครปฏิเสธว่า มิติของการสื่อสารด้วย
"ภาษารูปทรง" ของตัวพิมพ์ ที่ไม่เพียงส่งสารแทนเสียง หากยังถ่ายทอด "สำเนียง" หรือบุคลิกของสารและผู้สื่อสาร ได้ปรากฏเด่นชัดจนกลายเป็นสิ่งซึ่งไม่อาจมองข้าม
และ "ตัวพิมพ์" ก็ได้รับการยอมรับในฐานะสิ่งประดิษฐ์ที่มีบทบาทและมีพลัง

อย่างไรก็ตาม บทบาทของตัวพิมพ์ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในยุคข้อมูลข่าวสาร หากปรากฏอย่างแฝงเร้นมาเนิ่นนานนับจากวันที่มันถือกำเนิดขึ้น ประชา สุวีรานนท์ จะพาเราก้าวสู่ประวัติศาสตร์ของตัวพิมพ์ ทำความรู้จักกับ "หน้าตา" และ "สำเนียง" ของสิ่งประดิษฐ์อันทรงพลัง ที่มีบทบาทและพัฒนาการแนบแน่นกับสังคมไทยตลอดมา นับแต่ยุคของการสร้างชาติ


อ่านต่อที่สารคดี

ไม่มีความคิดเห็น: