วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550

John Baskerville

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม
นายธิษณ์กฤษฏิ์ อยู่เจริญ รหัส 1490800487
นางสาวมนพัทธ์ เอี่ยมบุญศิริ รหัส 1490800933
นายอภิวัฒน์ มุ่งมาไพรี รหัส 1490801097



จอห์น บาสเคอร์วิลล์
(John Baskerville)
มีชีวิตอยู่ในช่วงระหว่างปี 1706-1775

จอห์น บาสเคอร์วิลล์ เป็นชาวชนบทจากเมืองวอร์เชสเตอร์เชียร์ (Worcestershire) ประเทศอังกฤษ เกิดเมื่อปี 1706 เขาหลงไหลในความงามของตัวหนังสือมาตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นเด็ก เขาได้เริ่มสนใจที่จะเผยแพร่ศิลปะแห่งตัวอักษร ในขณะที่เขาเป็นครูสอนคัดลายมือและช่างแกะสลักหิน

เมื่ออยู่ในช่วงอายุสามสิบ บาสเคอร์วิลล์ ได้เริ่มทำอาชีพเกี่ยวกับการผลิตเครื่องโลหะลงรักสีดำเป็นกรอบ เป็นกล่องตัวเรือน นาฬิกา เชิงเทียน และถาด ล้วนแล้วแต่ทำจากแผ่นโลหะบางๆ ซึ่งมักจะวาดเป็นรูปผลไม้หรือดอกไม้ประดับไว้ แล้วขัดลงน้ำมันชักเงาอย่างแข็งและหนา (ในสมัยนั้นเครื่องใช้ประเภทขัดเงาและเครื่องใช้ในครัวที่เป็นโลหะ ได้รับความนิยมอย่างมาก) ในเวลาไม่นานนัก เขาก็ได้กลายเป็นเศรษฐีที่มีทรัพย์สมบัติมากมาย จนสามารถสร้างคฤหาสน์ที่อีซี่-ฮิลล์ ใกล้ๆเบอร์มิงแฮม

ในช่วงปี 1751 บาสเคอร์วิลล์ได้เริ่มหันเข้าหาศิลปะอักษรประดิษฐ์ที่เขารัก เริ่มต้นทดลองทางด้านการพิมพ์ ในฐานะศิลปินที่ต้องการควบคุมทุกอย่างในการออกแบบและการผลิตหนังสือ เขาทุ่มเทที่จะทำเลขศิลป์ให้เกิดความสมบูรณ์ และสามารถทุ่มเทเวลาและกำลังเท่าที่จำเป็น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เขามีผู้ช่วยคือ จอห์น แฮนดี้ (John Handy) ช่างตัดตัวตอก และโรเบิร์ต มาร์ติน (Robert Martin) ช่างฝึกงาน ซึ่งต่อมากลายเป็นหัวหน้าคนงาน บาสเคอร์วิลล์ได้ออกแบบและประดิษฐ์รูปแบบ ชุดเครื่องมือในการพิมพ์ ปรับปรุงน้ำหมึกให้ดีขึ้น และยังได้พัฒนาเทคนิคในการผลิตกระดาษขึ้นใหม่ ทำให้ง่ายต่อการผลิต ได้กระดาษที่มีความลื่นและสว่างมากขึ้นด้วย

แบบตัวพิมพ์ของบาสเคอร์วิลล์ ซึ่งติดชื่อเขามาตราบจนทุกวันนี้ เป็นจุดสุดยอดของสไตล์ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่เชื่อมระหว่างสไตล์เก่า(Old Style) กับแบบตัวพิมพ์ใหม่ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก วิลเลี่ยม คาสลอน (William Caslon) ในช่วงเรอเนซองค์ของอิตาลี ตัวพิมพ์ของบาสเคอร์วิลล์ มีความสง่างาม และบอบบาง เมื่อเปรียบเทียบกับแบบรุ่นก่อนๆ ตัวพิมพ์ของบาสเคอร์วิลล์จะดูกว้างกว่า และมีน้ำหนักระหว่างส่วนหนากับส่วนบางเพิ่มมากขึ้น การจัดวางส่วนที่หนาที่สุดจะผิดไปจากเดิม serifของตัวอักษรก็ผิดกัน serifจะไหลออกจากส่วนหลักของตัวอักษรอย่างนุ่มนวล และจบลงตรงจุดปรับขึ้นใหม่ที่มีความเหมาะสม ตัวเอนของเขาแสดงให้เห็นอิทธิพลที่ได้รับจากการคัดลายมือของช่างใหญ่อย่างชัดเจน

จากการทดลองผิดๆถูกๆของเขา ทำให้บาสเคอร์วิลล์ สามารถผลิตหมึกพิมพ์ที่ทำจากน้ำมันลินสีดต้มเดือด หลังจากเติมยางสีดำหรือสีเหลืองลงไปแล้ว ก็ทิ้งไว้เป็นเวลาหลายเดือน ต่อจากนั้นจึงนำเขม่าละเอียดกับเขม่าตะเกียงมาผสมลงไป หมึกที่ได้จึงมีสีดำเงาทึบ และจับเป็นขอบสุกปลั่งอยู่รอบๆตัวหนังสือสีม่วงเข้ม

กระดาษเนื้อเรียบเป็นเงาในหนังสือของบาสเคอร์วิลล์ คือกระดาษเนื้อถัก (Wove paper) รีดร้อน ซึ่งมีพื้นผิวที่ลื่นกว่ากระดาษทั่วไป และไม่มีลวดลายเป็นเส้นตามแนวนอนที่เกิดจากการผลิตอีกด้วย บาสเคอร์วิลล์ได้ปรับปรุงวิธีการทำกระดาษจากเนื้อที่หยาบให้มีผิวแน่นเรียบ โดยการสอดกระดาษเข้าไปในเครื่องจักรพิมพ์ลูกสูบที่ใช้แผ่นทองแดงเรียบมันสองแผ่น แล้วทำให้แผ่นทองแดงร้อน ซึ่งจะไล่ความชื้นออกจากกระดาษ ทำให้น้ำหมึกแห้งก่อนที่จะชุ่มเนื้อกระดาษ ทำให้ได้กระดาษที่เรียบมัน

จากความพยายามของบาสเคอร์วิลล์ ทำให้เขาผลิตหนังสือที่มีcontrastระหว่างหน้ากระดาษของตัวหนังสือ อ่านได้ง่าย และมีความละเอียด แต้ด้วยความอิจฉาริษยาทางการค้า ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับจากนักวิจารณ์ในยุคสมัยนั้นมากนัก และเรียกเขาว่า ‘มือสมัครเล่น’ ทั้งๆที่งานของเขามีคุณภาพสูง นักวิจารณ์บางคนเถียงว่า อ่านตัวพิมพ์ของบาสเคอร์วิลล์แล้วแสบตา เพราะตัวหนังสือคม และตัดกับแผ่นกระดาษอย่างรุนแรงเบนจามิน แฟรงคลิน ผู้ซึ่งนิยมชมชอบบาสเคอร์วิลล์ เขียนจดหมายถึงเขา และได้เล่าให้บาสเคอร์วิลล์ฟังว่า แฟรงคลินได้ถอดป้ายชื่อโรงหล่อที่ใช้ตัวพิมพ์ของคาสลอน แล้วบอกคนที่คุ้นเคยที่วิจารณ์ตัวพิมพ์ของบาสเคอร์วิลล์ ว่านั่นเป็นแผ่นป้ายที่ใช้ตัวพิมพ์ของบาสเคอร์วิลล์ แล้วให้คนคนนั้นชี้ปัญหา นักวิจารณ์คนนั้นจึงชี้ให้เห็นปัญหาว่า มองแล้วรู่สึกปวดหัว อย่างไรก็ตาม อิทฺธิพลด้านการออกแบบตัวอักษรและการพิมพ์ ก็ได้แพร่ขยายไปยังประเทศอิตาลีและประเทศฝรั่งเศส ที่ซึ่งจีโอวานนี บัตติสตา โบโดนี (Giovanni Battista Bodoni) และ ครอบครัวดิโดท์ (The Didots) ได้ส่งเสริมและผลักดันความคิดของเขาต่อไป

ตัวอย่างแบบอักษรของบาสเคอร์วิลล์



แหล่งที่มาของข้อมูล

หนังสือประวัติศาสตร์เรขศิลป์: ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
http://jquarter.members.beeb.net/morejbask.htm
http://typophile.com/wiki/john_baskerville
http://www.britainunlimited.com/Biogs/Baskerville.htms/Baskerville.htm

ไม่มีความคิดเห็น: