วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ไอสไตน์พูดว่า...

ในห้องเรียนวันหนึ่ง ไอสไตน์ถามนักเรียนว่า

"มีคนซ่อมปล่องไฟสองคน กําลังซ่อมปล่องไฟเก่า
พอพวกเขาออกมาจากปล่องไฟ ปรากฏว่า คนหนึ่ง
ตัวสะอาด อีกคนตัวเลอะเทอะ เต็มไปด้วยเขม่า
ขอถามหน่อยว่า คนไหนจะไปอาบน้ำก่อน"

นักเรียนคนหนึ่งตอบว่า
"ก็ต้องคนที่ตัวสกปรกเลอะเขม่าควันสิครับ"

ไอสไตน์ พูดว่า

"งั้นเหรอ คุณลองคิดดูให้ดีนะคนที่ตัวสะอาด
เห็นอีกคนที่ตัวสกปรกเต็มไปด้วยเขม่าควันเขาก็
ต้องคิดว่าตัวเองออกมาจากปล่องไฟเก่าเหมือนกัน
ตัวเขาเองก็ต้องสกปรกเหมือนกันแน่ๆเลย
ส่วนอีกคน เห็นฝ่ายตรงข้ามตัวสะอาด ก็ต้องคิดว่า
ตัวเองก็สะอาดเหมือนกัน ตอนนี้ ผมขอถาม
พวกคุณอีกครั้งว่า ใครที่จะไปอาบน้ำก่อนกันแน่"

นักเรียนคนหนึ่งพูดขึ้นมาด้วยความตื่นเต้นว่า

" อ้อ ! ผมรู้แล้ว พอคนตัวสะอาดเห็นอีกคนสกปรก
ก็นึกว่าตัวเองต้องสกปรกแน่ แต่คนที่ตัวสกปรก
เห็นอีกคนสะอาด ก็นึกว่าตัวเองไม่สกปรกเลย
ดังนั้นคนที่ตัวสะอาดต้องวิ่งไปอาบน้ำก่อนแน่เลย
..... ถูกไหมครับ...."

ไอสไตน์มองไปที่นักเรียนทุกคน นักเรียนทุกคน
ต่างเห็นด้วยกับคําตอบนี้ ไอสไตน์ ค่อยๆ พูดขึ้น
อย่างมีหลักการและเหตุผล

"คําตอบนี้ก็ผิด ทั้งสองคนออกมาจากปล่องไฟเก่าเหมือนกัน
จะเป็นไปได้ไงที่คนหนึ่งสะอาด อีกคนหนึ่งจะสกปรก
นี่แหละที่เขาเรียกว่า "ตรรก" เมื่อความคิดของคนเราถูกชักนําจนสะดุด
ก็จะไม่สามารถแยกแยะและหาเหตุผล
แห่งเรื่องราวที่แท้จริงออกมาได้ นั่นคือ "ตรรก"

จะหาตรรกได้ก็ต้อง กระโดดออกมาจาก
"พันธนาการของความเคยชิน" หลบเลี่ยงจาก
"กับดักทางความคิด" หลีกหนีจาก
"สิ่งที่ทําให้หลงทางจากความรู้จริง " ขจัด
"ทิฐิแห่งกมลสันดาน"

จะหา ตรรก ได้ก็ต่อเมื่อ คุณสลัดหมากทั้งหมด ที่คนเขาจัดฉาก วางล่อคุณไว้

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ถึง อาจารย์ทั้งสอง

อาจารย์ ขวัญไปโพสใหม่แล้วนะคะ งานน่ะ มีปรับปรุงด้วย!ลองเข้าไปดูนะคะ ^^
ของบูมด้วยครับ (ฝากบอก)

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Final Project/ poster

Final Project : Music Poster Series
----------------
Total mark 100% is
visual look 30 : typography 30 : design concept 15 : idea development 10 : presentation 15
----------------
เฉลี่ยคะแนนสุดท้าย 20 คะแนน

ม้า 18
[27 : 27 : 15 : 9 : 12]

พีท 14.2
[20 : 20 : 12 : 7 : 12]

จ๋าย 13.4
[20 : 18 : 13 : 4 : 11]

บูม 13.2
[17 : 18 : 12 : 7 : 12]

ต้น ธนิศ 9.6
[10 : 16 : 6 : 5 : 11]

ฝ้าย 8.4
[12 : 12 : 6 : - : 12]

แหยม 10.8
[15 : 17 : 8 : 3 : 11]

ทศ 13.6
[19 : 20 : 11 : 8 : 10]

เต้ 16.4
[23 : 26 : 12 : 7 : 14]

ขวัญ 17.4
[28 : 27 : 13 : 9 : 10]

ธี 15.4
[21 : 21 : 15 : 7 : 13]

เจน 12.6
[20 : 19 : 9 : 3 : 12]

หนุ่ย 13.4
[15 : 18 : 13 : 7 : 14]

โบ๊ท 11.6
[15 : 18 : 10 : 3 : 12]

แอ๊นท์ 15.4
[22 : 24 : 13 : 6 : 12]

ชาย 12.2
[22 : 17 : 8 : 3 : 11]

ตี๋ 13.8
[22 : 23 : 10 : 2 : 12]

เบียร์ 13.2
[18 : 17 : 11 : 8 : 12]

แทม 17
[24 : 26 : 13 : 9 : 13]

แบงค์ 12.8
[15 : 18 : 12 : 7 : 12]

หนึ่ง 9.6
[12 : 14 : 6 : 5 : 11]

กร 11
[17 : 17 : 7 : 3 : 11]

พลอย 15.2
[21 : 21 : 14 : 8 : 12]

หมิว 16
[25 : 25 : 10 : 7 : 13]

จิ๊ก 11.4
[15 : 17 : 9 : 5 : 11]

good luck with your final grade*

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Bangkok Design Festival 07

ใครมีเวลาลองไปดูกันนะครับ ในฐานะ นักศึกษาออกแบบ ควรที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่มากกว่าในห้องเรียน



http://www.bangkokdesignfestival.com/

และ 1 ใน EVENT ที่ควรจะดูอย่างมาก เกี่ยวกับ typography คือ หนังสารคดีเกี่ยวกับ Helvetica
รายละเอียดเกี่ยวกับ helvetica ให้ถามที่ ธี นะครับ (เพราะ ธี ทำรายงานแล้ว)

รายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาฉายหนัง
http://www.bangkokdesignfestival.com/HEL_in.htm

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550

PLATIN







โดย
นายปิยวัฒน์ ปิติโอฬารพัฒนโชค
นายณัฐวุฒิ แซ่เล่า
นายณัฐวุฒิ ฉาไธสง
นายธีรภัทร์ ล้อสุวรรณวงศ์

FRUTIGER







โดย
นายปิยวัฒน์ ปิติโอฬารพัฒนโชค
นายณัฐวุฒิ แซ่เล่า

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Johannes Gutenberg

วรรณลิสา นันตะสุคนธ์ 1490801659
ณัฏฐวี แซ่เฮง 1490802012

---------------------------------------------------------------------------------

Johannes Gutenberg








กูเต็นเบิร์กเป็นนักขุดทองและช่างพิมพ์ชาวเยอรมัน เป็นผู้ประดิษฐ์ตัวเรียงพิมพ์โลหะ ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือ คัมภีร์ไบเบิ้ลฉบับกูเต็นเบิร์ก หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม “คัมภีร์ไบเบิ้ล 42 บรรทัด”


ในบรรดาผลงานของเขา ผลงานที่น่าจะสร้างชื่อที่สุดตือการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ตัวเรียงพิมพ์โลหะ การประดิษฐ์คิดค้นนี้ได้นำมาซึ่งการพัฒนาขั้นตอนของการพิมพ์ให้มีความรวดเร็วขึ้นโดยใช้น้ำมัน เครื่องพิมพ์ที่ทำด้วยไม้ น็อต และเครื่องสำหรับคั้นองุ่นเพื่อทำเหล้าองุ่น การประดิษฐ์คิดค้นของเขานั้นเป็นการผสมผสานสิ่งเหล่านี้ไว้ด้วยกัน และสามารถใช้งานได้จริง

ตัวเรียงพิมพ์โลหะได้ถูกนำเข้ามาใช้ในการทำต้นฉบับคือว่างานประดิษฐ์นี้ได้ล้มล้างวิธีการพิมพ์แบบเก่าสมัยที่ยังเป็นแท่นพิมพ์แกะไม้อยู่ วิธีการพิมพ์แบบใหม่นี้ได้เป็นที่นิยมในยุโรปอย่างกว้างขวาง และถือว่ามีส่วนสำคัญต่อมาอย่างมากในงานพิมพ์สมัยเรเนอซองส์ กูเต็นเบิร์กได้ถูกจารึกชื่ออยู่ในหอคอยเกียรติยศปี 1998 รวมถึงA&E network ได้จัดอันดับให้เขาติดอันดับ 1 ใน People of the Millennium และในปี 1997 นิตยสารTime จัดให้สิ่งประดิษฐ์ของกูเต็นเบิร์กเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญที่สุดในยุคศตวรรษที่ 20

ชีวิตส่วนตัว
กูเต็นเบิร์กเกิดในเมืองโมนซ์ ประเทศเยอรมัน เป็นบุตรคนสุดท้องของตระกูลพ่อค้าชนชั้นกลาง มีบิดาชื่อ Friele Gensfleish zur Laden และมีภรรยาชื่อ Else Wyrich ผู้ซึ่งเป็นบุตรสาวของเจ้าของร้านค้า บางตำรากล่าวว่าพ่อของกูเต็นเบิร์กเป็นนักขุดทองให้กับบิช็อปในเมืองโมนซ์ แต่บ้างก็กล่าวว่าเขาทำธุรกิจค้าขายผ้า ปีเกิดของกูเต็นเบิร์กนั้นยังไม่แน่ชัด คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 1394 และ 1404 ที่น่าจะเป็นไปได้คือ 1400

ในสมัยนั้นผู้ที่มีอันจะกินในเมืองโมนซ์นิยมตั้งชื่อตามบ้านที่ครอบครอง และในช่วงปี 1411 เกิดจราจลต่อต้านผู้มีอันจะกินในเมืองโมนซ์ ผู้คนกว่า 100 หลังคาเรือนต้องอพยพไปเมืองอื่น ครอบครัวกูเต็นเบิร์กย้ายไปที่เมือง Eltville am Rhein ที่ซึ่งมารดาของเขาเป็นเจ้าของ เขาได้เข้าศึกษาที่ University of Erfurt โดยใช้ชื่อ Johannes de Alta villa ต่อมาบิดาของเขาเสียชีวิตลงในปี 1419 และกูเต็นเบิร์กต้องเป็นผู้สืบทอดกิจการ

ไม่มีการระบุแน่ชัดว่าภายในระยะ 15 ปีต่อ กูเต็นเบิร์กทำอะไร แต่ในปี 1434 มีจดหมายแสดงว่ากูเต็นเบิร์กได้มาอาศัยอยู่กับญาติของมารดา ภายในเมือง Strasbourg และมีการค้นพบอีกว่าที่เมืองนี้นั้นเขามีอาชีพเป็นนักขุดทอง ในปี 1437 พบหลักฐานว่าเขาเป็นผู้อบรมเรื่องการเจียระไนเพชรพลอย ซึ่งไม่ทราบว่าเขามีความรู้ทางด้านนี้ได้อย่างไร ในปี 1436/37 เขาได้ไปปรากฏตัวต่อหน้าศาลข้อหาละเมิดสัญญาการแต่งงานกับสาวชาวเมือง Strasbourg แต่ไม่มีการบันทึกว่าการแต่งงานครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อใด

จนกระทั่งปี 1444 กูเต็นเบิร์กยังอาศัยอยู่ในเมือง Strasbourg แถบ St.Arbogast แถวชานเมือง ยังไม่แน่ชัดว่าที่นี้เขาทำอะไร หรือสถานที่นี้หรือว่าที่เขาสามารถคิดค้นตัวเรียงพิมพ์โลหะขึ้นมาได้

เว้นว่างไปจนกระทั่งปี 1448 เขากลับมายังเมืองโมนซ์ เขาได้เงินจากน้องเขย Arnold Gelthus สันนิษฐานว่าเพื่อใช้สิ่งพิมพ์

ในปี 1450 สิ่งพิมพ์เริ่มมีบทบาท มีการพิมพ์บทกลอนของเยอรมัน เป็นไปได้มีการพิมพ์ครั้งแรกกันที่เมืองนี้ กูเต็นเบิร์กได้ทำการยืมเงิน 800 g. จาก Fust ต่อมา Peter Schoefler ได้แต่งงานกับน้องสาวของ Fust และเข้าร่วมกิจการนี้ด้วย Schoefler ทำงานเป็นผู้ช่วยอยู่ที่ปารีส และช่วยออกแบบหน้าตาของตัวเรียงพิมพ์

โรงงานของกูเต็นเบิร์กตั้งอยู่ในเมือง Hof Humbrecht ซึ่งเป็นสมบัติของญาติห่างๆ ของเขาเอง ไม่ทราบแน่ชัดว่ากูเต็นเบิร์กรับงานการพิมพ์คัมภีร์มาเมื่อใด แต่เพื่องานชิ้นนี้ กูเต็นเบิร์กได้ยืมเงิน Fust เพิ่มอีก 800g. และเริ่มงานในปี 1452 ในขณะเดียวกัน มีการพิมพ์หนังสือไวยากรณ์ภาษาลาติน เชื่อกันว่ากูเต็นเบิร์กมีแท่นพิมพ์ 2 ชิ้น ชิ้นแรกจะไว้รับงานทั่วๆ ไป และอีกชิ้นจะรับงานการพิมพ์คัมภีร์ไบเบิ้ล ธุรกิจของเขาได้กำไรจากการพิมพ์คัมภีร์เป็นส่วนใหญ่จากหลัฐานที่ได้พบในปี 1454-55

.ในปี 1455 กูเต็นเบิร์กได้ตีมพิมพ์คัมภีร์ไบเบิ้ล 42 บรรทัด ซึ่งเป็นที่รุ้จักกันในนาม “คัมภีร์ไบเบิ้ลกูเต็นเบิร์ก” พิมพ์ออกมา 180 ชุด ลงบนกระดาษและหนังลูกวัว

การขึ้นศาล
ในปี 1455 กูเต็นเบิร์กกับ Fust ทะเลาะกันและ Fust ได้เรียกร้องเงินทั้งหมดของเขาคืน และเงินนั้นได้ลงทุนไปกับการพิมพ์คัมภีร์ไบเบิ้ล ทำให้เขาไม่มีเงินจะคืน Fust ได้ยื่นฟ้องกับ Archbishop’s count ผลการตัดสินได้ให้สิทธิการดูแลทั้งหมดแก่ Fust

กูเต็นเบิร์กล้มละลาย แต่มีหลักฐานปรากฏว่าเขาได้ตั้งโรงพิมพ์เล็กๆ ขึ้นมาในปี 1459 และจัดพิมพ์คัมภีร์ไบเบิ้ลให้กับเมือง Bamberg แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการพิมพ์ไม่มีการลงชื่อและวันที่ไว้เลย

ในขณะเดียวกัน Fust – Schoefler ถือเป็นโรงพิมพ์แรกที่ใส่ชื่อผู้พิมพ์และวันที่ลงไป

ชีวิตต่อมา
ในปี 1462 เกิดกรณีพิพาทระหว่าง Archbishop เมือง Mainz กูเต็นเบิร์กได้ถูกเนรเทศ เข้าย้ายไปอยู่ที่เมือง Eltville ที่ซึ่งเขาได้ถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ในเรื่องการพิมพ์ให้กับน้องชาย Bechtermunze

ในปี 1465 กูเต็นเบิร์กได้รับยศ Hofman จาก Archbishop Van Nasse ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าหลังจากนั้นกูเต็นเบิร์กได้ย้ายกลับ Mainz หรือไม่

กูเต็นเบิร์กเสียชีวิตลงในปี 1468 ต่อมาโบสถ์และสุสานของเขาได้ถูกทำลาย

ในปี 1504 เขาได้ถูกจารึกเป็นผู้คิดค้นตัวเรียงพิมพ์โลหะ ซึ่งปรากฏในหนังสือของ Professor Iwo Wittig

--------------------------------------------------------------------------------------------

แหล่งที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Johannes_Gutenberg

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550

DEADline

กำหนดส่งงาน Final Project (poster + diary) ศุกร์ที่ 5 ต.ค. นี้
เช็คชื่อคนส่งงาน 12.40 น.
แล้วขอให้ทุกคนเอางานที่ทำไปทุกช้ินมาส่งรวมด้วย และ sketchbook
(ยกเว้นงาน drawing ไม่ต้องเอามา)
เขียนชื่อแปะให้เรียบร้อย งานทุกชิ้นจะเอามารวมเป็นคะแนนดิบเพื่อตัดเกรด
หลัง 13.00 น. จะไม่รับงาน
(ห้ามโอดครวญ)

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550

GRADE++

แจกแจงหลักเกณฑ์การให้เกรด (ดูกัน 1 อาทิตย์ก่อนจบเทอม)

:: 15% participation/attendance/report/presentation
:: 10% sketchbook
:: 15% diary project
:: 20% final project
:: 40% project/assignment


มาถึง project สุดท้าย Poster project ที่ยังมีโอกาสดึงเกรดออกมาให้สวยหรู

:: 30% The Visual Look
poster ที่ทำออกมา สามารถทำหน้าที่สื่อสารเรื่องราวได้มากแค่ไหน

:: 15% Design Concept
ไอเดียที่เลือกมาสร้างเรื่อง สัมพันธ์กับวิธีการออกแบบ logotype (งานก่อน)

:: 10% Alternative Ideas/ Idea Development
การพัฒนาไอเดียงาน

:: 30% Typography
การใช้ type, colour, image และ design element ต่างๆ ในงาน

:: 15% Presentation
ความเรียบร้อยในการส่งงาน และส่งงานทันเวลา

สำหรับคนที่ต้องแก้ไขงาน สามารถ post งานใน blog นี้
เพื่อที่ อ. จะได้ comment ให้ ขยันๆ เข้า good luck!

BASE typeface (1995)

Base ออกแบบโดย Zuzana Licko / ซูซานน่า ลิคโค

ข้อมูลเกี่ยวกับนักออกแบบตัวหนังสือและการออกแบบของเธอ
ลิคโคเกิดในเมืองบราทิสลาวา,เข็คโคสโลวาเกีย ในปี 1961 และย้ายไปอย่ที่อเมริกาเมื่ออายุ1ขวบ พ่อของเฑอเป็นนักคณิตศาสตร์จัดให้เธอทำงานเกี่ยวกับระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ และได้มีโอกาส
ออกแบบเป็นครั้งแรกตัวหนังสือกรีกใช้สำหรับส่วนบุคคล เธอได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ Berdeley ในสำหรับส่วนบุคคล เธอได้วางแผนเรียนต่อทางด้านสถาปัตยกรรมแต่ก็ได้เปลี่ยนไปเรียนทัศนศิลป์และจบการศึกษาสาขาศิลปะเพื่อการติดต่อสื่อสาร
เธอไม่ชอบลายมือข้างขวาเพราะมันสวยกว่าข้างซ้ายเธอจึงเปลี่ยนมาใช้ข้างซ้าย
เธอได้พบกับทีม Emigre ดีไซน์ กับสามีของเธอ รูดี่ แวนเดอร์แลนในปี 1984 และร่วมกันผลิตวารสารงานวิจารณ์ รวมถึงการออกแบบตัวเลข ของลิคโคด้วย
Emigre ได้มุ่งหมายตั้งแต่แรกที่จะให้นิตยสารนี้แสดงถึงนักศิลปะ ช่างถ่ายรูป นักกวี และสถาปนิก ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1984 โดยวานเดอร์แลน และผู้อพยพชาวดัตษ์ 2 คน ตั้งแต่ไม่มีงบประมาณ สำหรับเรียงพิมพ์ ตัวหนังสือที่ใช้ตัวพิมพ์เกือบทั้งหมดซึ่งเคยใช้บน
เครื่องถ่ายเอกสาร
การทำงานกับนักคอมพิวเตอร์ Macin fosh ที่ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ และเครื่องมือตัวอักษรภาพ ลิคโค เริ่มสร้างตัวอักษรลงแม๊กกาซีน Emperor Lakland and Emigre ได้ออกแบบ เพื่อจัดการดำเนินการผลิตให้เข้าที่ พวกเขา ได้ตีพิมพ์เป็นคร้งที่ 2 และหลังจากนั้น
ก็เริ่มมีผู้อ่านมากมายถามหาหนังสือของเขา เธอเริ่มโฆษณาและตีพิมพ์เป็นครั้งที่ 3 ในปี 1905 ลิคโค และวานเดอร์แลนได้รับการยอมรับให้เข้าสู่กลุ่มตลาด และกลายเป็นนักดีไซน์เนอร์ตั้งแต่อายุน้อย











วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550

FEDRA 2002

นาย ณพนรรจ์ เสเกกุล
นาย สุจจชัย โอชพันธ์ชัย


FEDRA 2002





Peter Bilak
Peter Bilak was born in Czechoslovakia, studied in England, the USA, and France
to end up in The Netherlands. Works in the field of editorial, graphic, type
and web design, teaches part time at the Royal Academy in The Hague.
Started Typotheque in 1999, and Dot Dot Dot in 2000, together with Stuart Bailey.
Besides fonts in Typotheque he has also designed fonts for FontShop International
](e.g. FF Eureka). Member of AGI (Alliance Graphique Internationale).




ผลงาน









Futura(Paul Renner)

นาย ณัชพล ลาภกิตติชัย
น.ส. ประภาสิริ คร้ามสมอ


Futura





เขาเกิดในPrussiaและนับถือนิกายโปรแตสแตนต์อย่างเข้มงวด เขาศึกษาอยุ่ที่โรงพละในศตวรรษที่19 เขาก้ได้ไปเรียนภาษาเยอรมันจนมีความสามารถมาก ถึงขนาดการเป็นผู้นำ เขามีความรับผิดชอบ และมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เขาเป็นคนขี้สงสัยในทางด้านศิลปะ และไม่ชอบรูปแบบของคนสมัยใหม่ เช่น ดนตรีแจ๊ส การเต้นรำ แต่เขาก็นับถือ การนำไปใช้ได้จริงในการคลายเครียดของความทันสมัย ดังนั้น Renner สามารถเห็นตัวเชื่อมระหว่างประเพณีแบบดั้งเดิมกับแบบสมัยใหม่ เขาจึงพยายามที่จะรวมสถาปัติยกรรมแบบ Gothic กับแบบ roman เป็นแบบตัวพิมพ์
เขาเริ่มต้นด้วยอาชีพนักเขียน และได้เป็นสมาชิกของ Deutscher Werkbund เขาประดิษฐ์หนังสือที่เป็นตัวชี้ทางและสร้างให้เป็นตัวอักษรที่ประชาชนทั่วไปใช้กัน ในศตวรรษที่20 ก็มีแบบตัวพิมพ์ Architype Renner ซึ้งเป็นรากฐานของ Renner ตั้งแต่แรก เป็นประสบการณ์ในการสร้างตัวอักษร ของRenner
ในปี1994หนังสือพิมพ์ของรัสเซียได้นำแบบอักษรของRennerมาใช้ใหม่ Rennerมีเพื่อนเป็นคนเยอรมันเป็นผู้เชี่ยวชาญการพิมพ์ชื่อ Jan Tschichold
ก่อนหน้าปี 1932 เขาต่อต้านนาซีเป็นอย่างมาก เขาทำแผ่นพับ “Kulturbolschewismus” เพื่อดึงดูดความสนใจให้ไล่พรรคนาซีออกจาก Munich และเขาก็ถูกเนรเทศ


ผลงาน


Front Futura


try face <เขียนผิดครับที่ถูกคือ>type face
จะกับมาแก้ให้โดยด่วนครับ

ประวัติของ ตัวพิมพ์ไทย

๑๐ ตัวพิมพ์ กับ ๑๐ ยุคสังคมไทย
เรียบเรียงโดย ประชา สุวีรานนท์

จากนิตยสาร สารคดี
ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๑๑ เดือน กันยายน ๒๕๔๕

ตัวพิมพ์ (font) มิได้ทำหน้าที่เพียง "ส่งผ่าน" ข้อมูลข่าวสาร
หรือเป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนเสียงเท่านั้น รูปร่างหน้าตาของตัวพิมพ์ยังช่วยกำหนด
"สำเนียง" ที่สร้างความหมาย และบุคลิกที่ต่างกันไปสำหรับเนื้อหาที่จะสื่อ

ตัวพิมพ์ ๑๐ ตัวพิมพ์ที่เลือกสรรมาเป็นตัวแทนของ ๑๐ ยุคสังคมไทยนี้
เพื่อแสดงให้เห็นว่า ตัวพิมพ์มีพัฒนาการ ที่แนบแน่นไปพร้อมกับความก้าวหน้า
และถดถอยของสังคมไทย ตลอดระยะเวลา ๑๖๐ ปีนับจากตัวพิมพ์ไทยถือกำเนิดขึ้น

ครั้งหนึ่งตัวพิมพ์อาจเคยถูกมองว่ามีหน้าที่เพียง "ส่งผ่าน" ข้อมูลข่าวสาร
เป็นสิ่งที่ทุกคน "อ่าน" หากกลับไม่มีใครมองเห็น แต่มาในยุคที่สื่อสารมวลชนเติบโต
และทรงอิทธิพลต่อสังคม คงไม่มีใครปฏิเสธว่า มิติของการสื่อสารด้วย
"ภาษารูปทรง" ของตัวพิมพ์ ที่ไม่เพียงส่งสารแทนเสียง หากยังถ่ายทอด "สำเนียง" หรือบุคลิกของสารและผู้สื่อสาร ได้ปรากฏเด่นชัดจนกลายเป็นสิ่งซึ่งไม่อาจมองข้าม
และ "ตัวพิมพ์" ก็ได้รับการยอมรับในฐานะสิ่งประดิษฐ์ที่มีบทบาทและมีพลัง

อย่างไรก็ตาม บทบาทของตัวพิมพ์ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในยุคข้อมูลข่าวสาร หากปรากฏอย่างแฝงเร้นมาเนิ่นนานนับจากวันที่มันถือกำเนิดขึ้น ประชา สุวีรานนท์ จะพาเราก้าวสู่ประวัติศาสตร์ของตัวพิมพ์ ทำความรู้จักกับ "หน้าตา" และ "สำเนียง" ของสิ่งประดิษฐ์อันทรงพลัง ที่มีบทบาทและพัฒนาการแนบแน่นกับสังคมไทยตลอดมา นับแต่ยุคของการสร้างชาติ


อ่านต่อที่สารคดี

OFFICINA 1990


ศุภกร ชลวิริยะกุล ID 1490801824
ธนากร สุตาชา ID 1490800271

Officina
font Officina เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1990 Erik Spiekermann เป็นผู้ออกแบบอักษรนี้ ได้เริ่มนำแบบตัวอักษร ระหว่างแบบดั้งเดิมและตัวหนามาใช้ เพิ่มน้ำหนักเข้าไป ลักษณะของตัวพิมพ์เป็นตัวเล็กๆแต่มีความชัดเจน ซึ่งน้ำหนักของตัวพิมพ์และรูปแบบการเอนมีการวางแบบการทำ เป็นอย่างดี และในขณะที่แบบพิมพ์นั้นได้มีการยอมรับในด้านธุรกิจกันอย่างแพร่หลาย จึงไม่แปลกที่ officinac จะได้รับการคัดเลือกเป็นอันดับต้นๆในการทำงาน

แหล่งที่มา
http://www.linotype.com/763/itcofficinaserif-family.html
http://www.e-pix.it/categorie/lista.asp?cat=12